ประวัติสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

    ประวัติสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

พระราชทานวังจันท์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๗ เมษายน ๒๔๔๐ นั้น ได้ทรงเห็นการพัฒนาบ้านเมืองและการคมนาคม จึงมีพระราชดำริ ที่จะพัฒนาบ้านเมืองและการคมนาคม จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนา เมืองไทยให้ทันสมัยเทียมเท่าต่างประเทศ หลังจากเสด็จกลับจาก ยุโรปแล้ว ได้เสด็จไปประทับแรมที่ตำบลสามเสน เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๑ ต่อจากนั้นได้โปรดให้ใช้เงินพระคลังข้างที่อันเป็นส่วนของ พระมหากษัตริย์หาซื้อทิ่ดินที่สวนต่อที่นาในระหว่างคลองผดุง กรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน โปรดให้สร้างพลับพลาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" แล้วสร้างถนน พระราชทานนามว่า "ถนนราชดำเนิน" ตามแบบอย่างถนนเมล์ใน กรุงลอนดอนและถนนชองปัส-เอลิเซส์ ในกรุงปารีส มีสะพาน หินอ่อนงดงาม คือ สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และสะพานมัฆวานรังสรรค์ มีการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยใช้วัสดุและช่างจากอิตาลี และมีการสร้างอนุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้าด้วย เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระราชสมภพ ครั้นมีพระชนมายุ 10 พรรษา ได้เสด็จเข้า ศึกษาใน โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง และต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๓๗ และเสด็จกลับสู่ประเทศไทยผ่าน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๔๕ รวมระยะเวลาที่ประทับในประเทศอังกฤษ ๗ ปี ๘ เดือน พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพระคลัง ข้างที่ซื้อที่ดินเพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ที่นครปฐม เริ่มก่อสร้างพระราชวังในปี พ.ศ.๒๔๕๐ สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระ ราชทานที่ดินเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ด้านทิศตะวันตก ให้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพื่อสร้างเป็นวังที่ประทับสำหรับพระเกียรติยศ เรียกชื่อ ว่า"วังจันท์" โดยได้พระราชทานเงินค่าก่อสร้างหมื่นชั่งด้วย
                กระทรวงธรรมการย้ายมาอยู่วังจันท์ กระทรวงธรรมการ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาสถาปนาขึ้นเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ มีที่ทำการเริ่มแรกอยู่ริมประตูพิมานไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง มีเสนาบดีคน แรกคือ พระยาภาสกรวงษ์ (พร บุนนาค) ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้ย้ายไปที่ตึกสุนันทาลัยปากคลองตลาดปี ๒๔๔๘ -๒๔๕๒ ใช้ที่บริเวณ พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นโรงละคอนแห่งชาติ ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๒ ใช้บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ปากคลองโอ่งอ่าง ซึ่งต่อมาใช้เป็ฯที่ทำการของ กรมประมง และเช่าที่ตึกของบริษัทเอส สมิตแอนด์ซัน ซึ่งต่อมาเป็นบริษัท ไฟฟ้าวัดเลียบและการไฟฟ้านครหลวง และในต้นปี ๒๔๘๒ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้เข้ามาใช้ สถานที่วังจันทรเกษม ปรากฎหลักฐานตามรายงานการ ประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๗๗/๒๔๘๒ สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนาวาเอก หลวงสินธุ์สงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง "ธรรมการ" ว่า "............... กระทรวงธรรมการรายงานว่า ที่ว่าการกระทรวงธรรมการ มีสถานที่คับแคบมากไม่พอกับกิจการที่กำลังขยายตัวอยู่ในเวลานี้ ................ ได้ พิจารณาว่าวังจันทรเกษม ซึ่งใช้เป็นโรงเรียนการเรือน อยู่นี้มีอาณาเขตกว้างขวาง เหมาะสมที่จะดัดแปลงเป็นที่ว่าการกระทรวงธรรมการได้............... ที่ประชุม ตกลงอนุมัติให้ดำเนินการ......................เป็นเงิน ๔๓,๐๐๐ บาท ส่วนที่ว่าการ กระทรวงธรรมการเดิมนั้น ให้ขึ้นทะเบียนเป็นราชพัสดุ ต่อไป" ๑๗ หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มอบหมายให้ หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) นายช่าง กรมการศาสนา ออกแบบ ดัดแปลงวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงธรรมการ เข้าใจว่าจะได้มีการสร้างตราเสมาธรรมจักรขนาดใหญ่ ทำด้วยปูนปั้นมี ลวดลายเถาด้านข้างสวยงามมาก เพื่อบังตราราชวัลลภของทหารมหาดเล็กรักษา พระองค์ในตอนนี้ เพราะต้องดัดแปลงอาคารของทหารเป็นอาคารสำนักงาน ของกระทรวงธรรมการ เนื่องจากหลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นนายช่างไทยชั้นยอดเยี่ยม เคยเป็น ครูโรงเรียนเพาะช่างและอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย คงจะ ไม่อยากรื้อทำลายตราราชวัลลภของทหารมหาดเล็ก ดังนั้น จึงสร้างหน้าบัน อีกชั้นหนึ่งมีตราเสมาธรรมจักร ซึ่งเป็นตราที่ได้รับพระราชทาน ครอบหน้า บันตราราชวัลลภของเดิม คล้ายวิธีบูรณะเจดีย์เก่าของไทยที่สร้างเจดีย์ใหม่ครอบ เจดีย์เดิม ปรากฎหลักฐานว่า ณ สถานที่ดังกล่าวมีหน้าต่างสองชั้นซ้อนกัน อยู่ทั้ง ชั้นล่างและชั้นบน มีปูนปั้นตราธรรมจักรกลมพร้อมลายเถาที่หน้ามุขอาคาร ทั้งสองข้างด้วย กระทรวงธรรมการได้ย้ายเข้ามาใช้สถานที่วังจันทรเกษม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓

วันที่ 7 กรกฏาคม 2546 ได้มีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการใหม่ มีหน่วยงานภายใต้สังกัด คือ

1. สำนักงานรัฐมนตรี 
2. สำนักงานปลัดกระทรวง 
3. สำนักงานคณะกรรมการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7. องค์การมหาชน/องค์กรในกำกับ 

               กระทรวงศึกษาธิการแต่เดิมมีชื่อว่า กระทรวงธรรมการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก 111 ปี มะโรง ตรงกับพุทธศักราช 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงธรรมการในระยะแรกมีหน้าที่จัดการพระศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์ มีกรมในสังกัด  5 กรมคือ กรมธรรมการกลาง กรมศึกษาธิการ กรมพยาบาล กรมพิพิธภัณฑ์ และกรมสังฆการี ชื่อของกระทรวงนี้ ได้มีการเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาหลายครั้ง ดังนี้

ช่วงปีพุทธศักราช
ชื่อกระทรวง
2435 - 2461
กระทรวงธรรมการ
2462 - 2468
กระทรวงศึกษาธิการ
2469 - 2483
กระทรวงธรรมการ
2484 - ปัจจุบัน
กระทรวงศึกษาธิการ

                 กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันนี้ มีหน้าที่หลักในด้านการศึกษาการศาสนา และวัฒนธรรม มีหน่วยงานระดับสำนักงานในสังกัด 5 หน่วยงาน และมีหน่วยงานที่เป็นองค์การมหาชน/หน่วยงานในกำกับ  
    ที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการย้ายมาหลายแห่งด้วยกัน ดังนี้

ในสมัยแรกนั้น (พ.ศ. 2435) ที่ทำการกระทรวงธรรมการตั้งอยู่ที่ตึกริมประตูพิมานไชยศรี ด้านตะวันออก (ปัจจุบันเป็นสำนักงานพระคลังข้างที่)
พ.ศ. 2441 ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกสุนันทาลัย ปากคลองตลาดซึ่งก็คือ โรงเรียนราชินีในปัจจุบัน
พ. ศ. 2448 ได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกสร้างใหม่ที่พระราชวังบวรฯ (ที่ตั้งโรงละครแห่งชาติ ในปัจจุบัน)
พ. ศ. 2452 ได้ย้ายไปอยู่ที่   บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ริมปากคลองโอ่งอ่าง  (ปัจจุบันเป็นที่ทำการกรมการข้าว)
พ. ศ. 2483 ได้ย้ายมาอยู่ที่วังจันทรเกษม    ถนนราชดำเนินนอก จนถึง ปัจจุบันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น